ปัญหาและผลกระทบจากการใช้วัตถุอันตราย


อาการเกิดพิษจากวัตถุอันตราย

โดยปกติวัตถุอันตรายที่ใช้ในการควบคุม ป้องกันการกำจัดแมลงและสัตว์อื่น จะสามารถทำให้เกิดอันตราย หรือเกิดพิษจากการได้รับสัมผัสวัตถุอันตรายจากภายนอกได้แก่ผิวหนัง ตา ระบบทางเดินหายใจ หรือการดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย เกิดผลความเป็นพิษต่อระบบในร่างกาย ผลจากการสัมผัสภายนอกอาจทำให้เกิดการระคายเคืองทางผิวหนังหรืออักเสบ ผลต่อระบบภายในร่างกาย ซึ่งสารเคมีบางอย่างออกฤทธิ์ต่อระบบใดระบบหนึ่งของแมลงที่เหมือนและใกล้เคียงกับมนุษย์ และจะทำให้มีอาการต่อระบบของร่างกายมนุษย์ซึ่งอาการจะมีดังนี้ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศรีษะหน้ามืด วิงเวียน เกิดผดผื่นคัน ระคายเคือง อ่อนเพลีย แน่นหน้าอก หายใจลำบาก ปวดเมื่อยร่างกาย กล้ามเนื้อเกร็งเป็นตระคิว เป็นต้น

 

คุณทราบหรือไม่ วัตถุอันตรายสามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้ 3 ทางดังนี้

  1. ทางปาก โดยการกลืนกินเช่นฝุ่นหรือวัตถุอันตรายปลิวเข้าปาก ดื่มน้ำหรือกินอาหารที่ปนเปื้อนวัตถุอันตราย ใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่ปนเปื้อนวัตถุอันตราย ใช้ปากดูดวัตถุอันตรายขณะเตรียมเครื่องมือฉีดพ่น ไม่ล้างมือหลังจากทำงานใช้มือจับของกินหรือการหกรดของวัตถุอันตรายบนอาหาร อีกทั้งมักเกิดจากการฆ่าตัวตายหรืออุบัติเหตุ
  2. ทางจมูก โดยการหายใจฝุ่นระอองไอของวัตถุอันตรายผ่านระบบทางเดินหายใจขณะฉีดพ่น
  3. ทางผิวหนัง อาจเกิดจากการหดตัวของเสื้อผ้าผู้ปฏิบัติงานระหว่างเตรียม ขณะฉีดพ่นหรือฝุ่นระอองไอของวัตถุอันตรายปลิวมาถูกตัวขณะฉีดพ่น ขณะซ่อมเครื่องมือที่มีสารดังกล่าวปนเปื้อน



นอกจากนั้นยังมีปัญหาและผลกระทบจากการใช้สารเคมีสังเคราะห์เพื่อประโยชน์ต่อการกำจัดแมลงและสัตว์ฟันแทะ
นอกจากเป็นพิษแล้ว ยังอาจก่อให้เกิดปัญหาและผลกระทบอื่น ๆ ดังนี้

  1. ทำให้แมลงและสัตว์ฟันแทะพัฒนาความต้านทานต่อวัตถุอันตราย
  2. ทำให้แมลงและสัตว์ฟันแทะกลับมาระบาดรุนแรงกว่าเดิม
  3. มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
  4. มีการแพร่กระจายในดิน
  5. การแพร่กระจายในน้ำ
  6. การตกค้างในพืช
  7. การตกค้างในสัตว์
  8. การสะสมในร่างกายมนุษย์